8 วิธีการดูแล สุนัขให้อยู่ดี “สุนัข” จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของ ทั้งในด้านการดูแลขน การอาบน้ำ การดูแลสภาพทั่วไปของหู ตา จมูกและเล็บเท้า รวมไปถึงการดูแลสุขภาพของเหงือกและฟัน ตลอดจนการออกกำลังกาย การได้รับอาหารที่ดี และการได้รับการตรวจสุขภาพจากสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมออีกด้วย
แนะนำ 8 วิธีการดูแล สุนัขให้อยู่ดี
8 วิธีการดูแล สุนัขให้อยู่ดี
- ไม่ควรเลี้ยงลูกสุนัขไว้บนพื้นที่ลื่น เช่น พื้นกระเบื้อง หินอ่อนขัด เป็นต้น เพราะจะทำให้ขาสุนัขไม่สวย มันไม่สวยยังหรอ ขาจะแบะออกคล้ายๆกับว่ายืนได้ไม่มั่นคง
- ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกสุนัขที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือน ถ้ารู้สึกว่าสกปรกใช้ผ้าน้ำเช็ดขนข้างนอกก็พอ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ อาบน้ำแล้วให้รีบเช็ดและเป่าให้แห้ง เดี๋ยวสุนัขจะเป็นหวัด
- ระวัง! อย่าให้ลูกสุนัขมุดใต้กรง หรือใต้อะไรที่แข็งและเป็นคาน เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าไปติด ถูกกดทับ หรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เส้นหลังเสียได้ (กระดูกสันหลังจะแอ่น)
- ควรดูแลรักษาปากและฟันของสุนัข อย่าให้กัดแทะของแข็งเกินไป เดี๋ยวฟันไม่แข็งแรง ควรหากระดูกเทียมให้สุนัขแทะเล่น เอากระดูกแบบสีขาวและมีฟลูออไรด์ด้วยจะได้ทำความสะอาดฟันสุนัขไปในตัว
- เมื่อสุนัขเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว (อายุ 7-8 เดือน) อย่าเพิ่งรีบให้ผสมพันธุ์ เพราะสุนัขยังไม่โตเต็มที่ อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตและทำให้ตัวเล็ก แล้วก็อาจจะแท้งหรือให้ลูกที่ไม่สมบูรณ์
- เมื่อเริ่มโตสุนัขจะเริ่มมีขนร่วง ไม่ต้องแปลกใจเป็นธรรมชาติของสุนัขที่มีการเจริญเติบโต
- อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารเม็ด เพราะสะดวกรวดเร็ว ถ้าให้อาหารธรรมดา(ทำเอง) สุนัขจะเลือกกินแล้วจะไม่กินอาหารเม็ด อย่าให้แทะกระดูกจริงเพราะเดี๋ยวจะไปทิ่มเอากระเพาะสุนัขจะติดคอได้ง่าย
- การฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ ควรทำตามตารางที่สัตวแพทย์
วิธีการ เลี้ยงหมา
ก่อนคิดจะพาน้องหมาตัวใหม่เข้าบ้าน คุณต้องรู้ซะก่อนว่า “เลี้ยงหมา” นั้นเขาทำกันยังไง คุณต้องตอบสนองทุกความต้องการของหมาได้ ไม่ว่าจะด้านร่างกายหรือจิตใจ ก็คือต้องให้อาหารที่มีประโยชน์ น้ำสะอาด รวมถึงบ้านที่อบอุ่นและปลอดภัย นอกจากนี้น้องหมายังต้องสุขใจโดยมีเวลาวิ่งเล่นอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายเยอะๆ และทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง บอกเลยว่าเลี้ยงหมาน่ะเรื่องใหญ่ แถมเป็นภาระผูกพันระยะยาว แต่ถ้าคุณทำอย่างถูกวิธีละก็ รับรองว่าน้องหมาจะรักและไว้ใจคุณอย่างแน่นอน
- ให้กินอาหารคุณภาพดี. เวลาเลือกซื้ออาหารหมาต้องศึกษาฉลากโดยละเอียด[2] ส่วนผสมหลักๆ ควรเป็นเนื้อจริงๆ (meat) ไม่ใช่ส่วนที่เหลือจากเนื้อสัตว์ (meat by-product) หรือธัญพืช จะได้แน่ใจว่าอาหารยี่ห้อนั้นเน้นโปรตีนดี ไม่ใช่มีแต่สารเติมเต็ม
ปรึกษาคุณหมอเวลาเลือกอาหารหมา จะได้เลือกอาหารหมาที่เหมาะกับลูกหมาของคุณโดยเฉพาะ และคุณหมอจะได้แนะนำด้วยว่าควรให้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน - ให้อาหารเวลาเดิมทุกวัน. แนะนำให้คุณให้อาหาร 2 ครั้งต่อวัน[3] รู้ก่อนว่าแต่ละวันควรให้อาหารมากน้อยแค่ไหน ปกติมักมีรายละเอียดบอกอยู่ที่ถุงอาหาร พอรู้แล้วก็เอาปริมาณนั้นมาหารสอง แบ่งส่วนแรกให้ตอนเช้า และส่วนที่ 2 เก็บไว้ให้ตอนเย็น
ถ้าให้อาหารเป็นเวลาจะช่วยให้ฝึกหมาง่ายขึ้น เพราะปกติหมาจะอึฉี่หลังกินอาหารได้ 20-30 นาที - อย่าให้หมากินขนมหรืออาหารคนมากเกินไป. ไม่งั้นหมาจะอ้วนฉุหรือเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ เก็บขนมไว้ให้เป็นรางวัลเวลาฝึกหมาอย่างเดียวจะดีกว่า เรารู้ว่าทำยาก ยิ่งน้องหมาตัวไหนขี้อ้อนทำตาแป๋วด้วยนะ แต่ไม่ได้หรอก ใจแข็งหน่อย!
อย่าให้หมากินอะไรที่คุณก็รู้อยู่ว่ามันไม่ดี มีหลายอย่างเลยที่หมากินแล้วไม่ดีแถมอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะช็อกโกแลต อะโวคาโด แป้งดิบ ลูกเกด องุ่น หัวหอม หรือ ไซลิทอล (xylitol) ที่เป็นสารให้ความหวานแบบไม่มีแคลอ - เติมน้ำอย่าให้ขาด. ไม่ใช่แค่อาหารที่สำคัญต่อร่างกายของน้องหมา น้ำนี่ขาดไม่ได้เลย (บางทียิ่งกว่าอาหาร) หมาต้องสามารถกินน้ำได้ตลอดเวลา อาจมีบางเวลาที่ให้ลำบากอย่างตอนอยู่ในรถ อันนี้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นไปได้ก็เตรียมขวดน้ำหรือชามใส่น้ำเผื่อไปหน่อยแล้วกัน
ดูแลสุขภาพ
1.หาสัตวแพทย์ประจำที่เก่งและน่าเชื่อถือ. วิธีเลือกคุณหมอได้ดีที่สุด คือลองภูมิเล็กน้อยว่าถามเกี่ยวกับน้องหมาแล้วเขาตอบได้ทันทีแถมข้อมูลแน่นหรือเปล่า รวมถึงดูวิธีที่เขาปฏิบัติต่อน้องหมาของคุณด้วย แต่ก็ไม่ต้องเลือกคุณหมอชื่อดังเกินไป เพราะอย่าลืมว่าคุณต้องพาน้องหมามาตรวจร่างกายบ่อยๆ ถ้าขืนดังจนคิวยาวเหยียดละก็ คงไม่สะดวกแน่ ที่สำคัญคือถ้ารู้สึกผิดปกติหรือไม่สบายใจตรงไหน คุณก็มีสิทธิ์เปลี่ยนคุณหมอได้ตลอดเวลา
- อย่าลืมหาโรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกฉุกเฉินที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุด) ไว้ด้วยล่ะ
2.พาน้องหมาไปฉีดวัคซีน. คุณหมอจะแนะนำเองว่าโรคไหนกำลังระบาด น้องหมาเป็นโรคอะไรบ่อย ต้องฉีดอะไรบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้ววัคซีนนั้นต้องหมั่นมาฉีดกระตุ้นตามกำหนด อาจจะปีละครั้งหรือ 3 ปีครั้ง ก็แล้วแต่โรคไป
- แต่ตัวที่ขาดไม่ได้ก็คือ rabies หรือโรคพิษสุนัขบ้า ไม่ว่าจะมีกฎหมายกำหนดหรือไม่มีก็ควรฉีดกันไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยของน้องหมา (และตัวคุณเอง) เพราะโรคนี้ร้ายแรงมาก
3.พิจารณาฝังชิปให้น้องหมา. เป็นการฝังไมโครชิปเล็กจิ๋วเข้าไปใต้ผิวหนังแถวๆ สะบัก โดยชิปนั้นจะมีหมายเลขประจำตัวของหมาที่บันทึกไว้ในฐานข้อมูล พร้อมรายละเอียดของคุณ เผื่อน้องหมาหายไปหรือถูกขโมยแล้วคนเก็บได้ ตามคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์จะได้สแกนหาเจ้าของถูก
4.หมั่นกำจัดและป้องกันปรสิต. สำคัญมากว่าคุณต้องหมั่นดูแลป้องกันน้องหมาจากพยาธิต่างๆ อย่างพยาธิตัวกลม (roundworms) แต่จะบ่อยแค่ไหนนั้นก็แล้วแต่ลักษณะการเลี้ยงดู ถ้าเลี้ยงแบบปิดก็เสี่ยงน้อยหน่อย เพราะไม่ได้ออกไปนอกบ้านแล้วบังเอิญติดพยาธิมา ต้องอธิบายให้คุณหมอฟังด้วยจะได้แนะนำถูกว่าต้องป้องกันยังไงและถ่ายพยาธิบ่อยแค่ไหน ถ้าเสี่ยงน้อยก็อาจแค่ถ่ายพยาธิ 2-3 ครั้งต่อปี แต่ถ้าเสี่ยงมากหน่อยก็ต้องถ่ายกันทุกเดือน
- ระวังพยาธิตัวอื่นด้วย เช่น พยาธิหนอนหัวใจ (heartworm)
- ระวังพยาธิตัวอื่นด้วย เช่น พยาธิหนอนหัวใจ (heartworm)
5.ทำหมันเลยก็ดี. จะได้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคบางอย่าง เช่น มะเร็งเต้านม หรือ mammary cancer (ถ้าทำหมันทันก่อนฤดูผสมพันธุ์รอบที่ 2) มดลูกอักเสบ หรือ pyometra (คือมีหนองในมดลูก) ในตัวเมีย และพฤติกรรมก้าวร้าวหรือโรคต่อมลูกหมาก (prostatic disease) ในตัวผู้ จริงๆ แล้วเรียกว่าเป็นความรับผิดชอบแรกๆ ของคนเลี้ยงหมาเลย ที่ควรพาหมาไปทำหมัน หมาจะได้ไม่ท้องโดยบังเอิญจนเป็นปัญหากับคุณและสังคมต่อไป
- แต่บางทีทำหมันแล้วก็ทำให้เสี่ยงเป็นโรคอื่นแทน เช่น หมาที่ทำหมันแล้วจะเสี่ยงเป็นมะเร็งบางชนิดหรือมีปัญหาไทรอยด์ได้ รวมถึงโรคหัวใจด้วย ยังไงก็พิจารณากันตามสะดวก
6.ทำประกันชีวิตให้น้องหมา. ข้อนี้สงวนไว้สำหรับคนกระเป๋าหนักเท่านั้น แต่รับรองว่าคุ้มกับค่ารายเดือนที่เสียไปแน่ เพราะถ้าน้องหมาป่วยหรือบาดเจ็บ บริษัทประกันจะออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ให้เอง (แล้วแต่ว่าคุณมีวงเงินแค่ไหน) อันนี้ถ้าสนใจก็ควรศึกษารายละเอียดนโยบายและราคาค่างวดให้ละเอียดก่อน
- เรื่องรายละเอียดนี่สำคัญมาก เพราะคุณต้องรู้ตัวว่าจ่ายไหวแค่ไหน รวมถึงเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละบริษัทให้ถี่ถ้วนด้วย โดยเฉพาะเรื่องประกันครอบคลุมแค่ไหน